รายการบล็อกของฉัน

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานชิ้นแรก

การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราว

การนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราช

ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากล

การนับเวลาแบบไทย

ในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

1.พุทธศักราช(พ.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา โโยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้งนี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็ฯที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455
2. มหาศักราช(ม.ศ.) การนับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยในสมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621
3.จุลศักราช ( จ.ศ.)
จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181โดยไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตานาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5 ) จึงเลิกใช้
4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)ทรงตั้งขึ้น
ในปีพุทธศักราช2432
โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา

การนับเวลาแบบสากล

1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต(ตรงกับ พ.ศ.543)และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล
2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยอาศัยปีที่
ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 622

อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้

ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000

ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600

สหัสวรรษ (millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

หลักเกณฑ์การเรียบเทียบศักราชในระบบต่างๆ

การนับศักราชที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์ดังนี้

ม.ศ.+621=พ.ศ. พ.ศ.-621=ม.ศ.
จ.ศ.+1181=พ.ศ. พ.ศ.-1181=จ.ศ.
ร.ศ.+2325=พ.ศ. พ.ศ.-2325=ร.ศ.
ค.ศ.+543=พ.ศ. พ.ศ.-543=ค.ศ.
ฮ.ศ.+621=ค.ศ ค.ศ.-621=ฮ.ศ.
ฮ.ศ.+1164=พ.ศ. พ.ศ.-1164=ฮ.ศ.




1 การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต และช่วยให้เข้าใจง่าย ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย ดังนี้
1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ เป็นต้น
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ชุด คือ ยุคหินและยุคโลหะ
1.1.1 ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ๆ ดังนี้
( 1 ) ยุคหินเก่า เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษย์ชาติ มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ จับปลา หาของป่ากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหินอย่างหยาบๆ และเขียนภาพตามฝาผนัง
( 2 ) ยุคหินกลาง มนุษย์ยังคงดำรงชีวิตเหมือนในยุคหินเก่า แต่รู้จักทำเครี่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่ประณีตมากขึ้น และเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
( 3 ) ยุคหินใหม่ มนุษย์มีความเจริญมากกว่ายุคก่อนๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งรู้จักการเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ และเครื่องมือล่าสัตว์หินขัด
1.1.2 ยุคโลหะ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 4,000 ถึง 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 2 ยุคย่อยๆ ดังนี้
( 1 ) ยุคสำริด มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด (ทองแดงผสมดีบุก) ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในยุคหิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ ( หมูและวัว )
( 2 ) ยุคเหล็ก มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาหลอมทำอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ๆ แต่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเกสรกรรม มีการติดต่อขายระหว่างชุมชนต่าง ๆ ทำให้ความเจริญขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2.2 สมัยประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ความเชื่อ และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นลายลักษร มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ แผ่นหิน แผ่นดินเหนียว และกระดาษ เป็นต้น
ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการส้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน ดังนี้ สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ๆ ดังนี้
2.2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ ) และอายธรรมกรีก โรมัน ตามลำดับ จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน ในปี พ.ศ. 1019
2.2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม ( จักรวรรดิโรมันตะวันตก ) ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ. 1019 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk) ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
2.3.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสติติโนเปิลถูกตีแตก เมื่อปี พ.ศ. 1996 เป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488
มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ อาทิเช่น การปฏิรูปศาสนา การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ ทางด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางเรือสำเภา การแสวงหาดินแดนใหม่ และการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นต้น
3. การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
นักประวัติศาสตร์ไทยไม่นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ เหมือนดังที่ทำในประเทศตะวันตก แต่จะมีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง มีดังนี้
3.1 แบ่งตามสมัย (หรือตามเวลาที่เริ่มใช้ตัวอักษร ) แบ่งได้ 2 สมัย ดังนี้
(1) สมัยก่อนประวัติสาสตร์ หมายถึง ยุคหิน (ยุคหินเก่า หินกลาง และหินใหม่ ) และยุคโลหะ ( ยุคสำริด และเหล็ก ) มีอายุประมาณ 700,000 - 1,400 ปีมาแล้ว โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยโดยลำดับมา
(2) สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่ผู้คนเริ่มใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ สำหรับดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จากหลังฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ คือ ศิลาจารึกที่ปราสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้ว ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1180
3.2 แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ก่อนที่จะเกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมีอาณาจักรต่างๆ เกดขึ้นมาก่อนแล้ว แต่สันนิฐานว่าไม่ใช่อาณาจักรของคนไทย
ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา จึงแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ สมัยทวารวดี, สมัยละโว้( พลบุรี), สมัยศรีวิชัย ( สุราษฎร์ธานี) และสมัยตามพรริงค์ ( นครศรีธรรมราช) เป็นต้น
3.3 แบ่งยุคสมัยตามราชธานี เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงตามลำดับ ได้แก่ สมัยสุโขทัย, สมัยอยุธยา, สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์
3.4 แบ่งยุคตามสมัยพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์อู่ทอง, สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ, สมัยราชวงศ์สุโขทัย, สมัยราชวงศ์ปราสาททอง และสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทั้งหมดนี้ เป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา
3.5 แบ่งยุคสมัยตามราชกาล เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงครองราชย์อยู่ ได้แก่ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
3.6 แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสมัยประชาธิปไตย โดยถือตามเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยดังกล่าว โดย
“ คณะราษฎร” ใช้กำลังทหารเข้ายืดอำนาจและเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ประชาธิปไตย
3.7 แบ่งยุคสมัยตามรัฐบาลบริหารประเทศ ได้แก่ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม, สมัยรัฐบาลพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และสมัย

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/EwFhwPs

4 ความคิดเห็น: