รายการบล็อกของฉัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

บุคคลสำคัญ




พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช





สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก แม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรีไรับอันเชิญจากขุนนางและไพร่ฟ้าประชาชนให้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงค์จักรี ( พ.ศ.2325-2352) โดยได้รับการขนานนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๙พระองค์มี พระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้

1. ด้านการสร้างอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนาราชวงศ์ใหม่ขั้น ปกครองราชอาณาจักร ไทยสืบทอด ความมีเสถียรภาพมั่นคงต่อจากสมัยกรุงธนบุรี และทรงโปรดเกล้าให้สร้างราชธานีใหม่นามว่า กรุงเทพมหานครบวร รัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรัมย์อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ โดยสร้างขึ้นบริเวณฟากตะวันออกของลำน้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกรุงธนบุรี ในชัยภูมิ ที่เหมาะสมเพราะมีลำน้ำ โอบล้อมถึง3 ด้าน



2.ด้านการต่างประเทศ ในระยะการสร้างบ้านสร้างเมือง ของพระองค์ในกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ไทยมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ในเรื่องของการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ

1. ต้องการความปลอดภัยทางด้านยุทธศาสตร์

2. ต้องการรักษาบูรณภาพของดินแดน

3. ต้องการแผ่อิทธิพลไปยังบริเวณที่เคยเป็นประเทศราชในอดีต เช่น ลาว เขมร หัวเมืองมลายู การเกี่ยวข้องจะเป็นเรื่องของการทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตลอดรับสมัยของพระองค์ความสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้ามีดังนี้

- ความสัมพันธ์กับประเทศลาว อาณาจักรลาวได้รวมอยู่ในความครอบครองของไทยโดยเด็ดขาดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทรงยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ และหัวเมืองลาวมาทั้งหมด

- ความสัมพันธ์กับพม่าสมัยรัชการที่ 1 ไทยทำสงครามกับพม่าถึง 8 ครั้ง ครั้งสำคัญ คือสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 และสงครามที่ สามสบ ท่าดินแดง ใน พ.ศ. 2329 และสงครามไทยกับพม่าได้สิ้นสุดลง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่ออังกฤษเข้ามาแทรกแซงพม่า จนพม่าต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

พระปิยะมหาราช





พระปิยมหาราช หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระบารมีและพระปรีชาสามารถอันล้นพ้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำประเทศให้เกิดการพัฒนาตามแบบอย่างตะวันตก และได้มีผลงานที่สำคัญอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติดังนี้

1. การเลิกทาส ทาสในสังคมไทยได้รับการปลกปล่อยอย่างมีขั้นตอนในามัย รัชกาลที่ 5 โดยการปลดปล่อยลูกทาสซึ่งนำใปสู่การเลิกทาสในครั้งนั้นนอกจากจะมีผลต่อสังคม คือทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ได้รับอิสระและเสรีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้วยังบังเกิดผลอันดีสอดคล้องกับสภาพการเมือง การปกครองที่กำลังพัฒนาไปสู่รูปแบบใหม่ในระหว่างนั้นด้วย

2. การปฏิรูปการปกครอง การปกครองส่วนกลาง ร. 5 ได้โปรดเกล้าให้ยกเลิกหน่วยงานเก่า แล้วจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่ากระทรวง ขึ้น 12 กระทรวง (พ.ศ. 2435)โดยมีเสนาบดีกระทรวงต่างๆ รับผิดชอบงานแต่ละกระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ แระทรวงวัง กระทรวงนครบาล กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเกษตร และพาณิชการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ

กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวง มุรธาธิการ ทั้งยังตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น 2 สภาคือ

1. รัฐมนตรีสภา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินและการพิจารณาร่างกฎหมาย

2. องคมนตรีสภา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการในพระองค์และเป็นคระกรรมการขำระความ

การปกครองส่วนภูมิภาค ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อคอยประสานงานระหวาางส่วยกลางกับส่วนภูมิภาค เป็นผลให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมี ข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาลเป็นหัวหน้าควบคุมดุแลเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2448พระองค์ได้จัดสุขาภิบาลขึ้นที่ท่าฉลอม และในปี พ.ศ. 2452 จึงประกาศใช้ “พระราชบัญญัติ จัดการสุขาภิบาล ร.ศ. 127” โดยมีสุขาภิบาล 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยกเลิกไปแล้วกันมาใช้เทศบาลแทน

3. การปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. การจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ ในปี พ.ศ.2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน นายทหารมหาดเล็กขึ้นเรียกว่า โรงเรียนนายทหารมหาดเล็กหรือโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

2. การจัดตั้งโรงเรียนราษฎร โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประชาชนจึงมีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2427 คือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม จุดมุ่งหมายเพื่อขยายการศึกษาสู่ประชาชนเมื่อกิจการโรงเรียนหลวงเจริญก้าวหน้า โปรดให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นในปี พ.ศ. 2430 ต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ ครั้นสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงธรรมการเปลี่ยนเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทคือ สายสามัญศึกษา คือ การศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ทุกคนควรรู้ และสายวิสามัญ คือการศึกษาวิชาความรู้พิเศษ ซึ่งทุกคนสามารถเลือกเรียนเฉพาะอย่างได้

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 กำหนดให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 14 ปี ต้องเรียนในโรงเรียนประถม โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน และในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเรียกว่า “ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

4. การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สำคัญและได้รับการปรับปรุงคือ

1. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่รัชกาลที่ 5 ทรงจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2416

2. ประเพณีสืบสานราชสันติวงศ์ รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้

3. การเสด็จประพาสต่างประเทศ เป็นประเพณีที่รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มขึ้น

4. การใช้พุทธศักราช ( พ.ศ. ) เป็นศักราชทางราชการ ทั้งนี้เพราะพระพุทธศานาประจำชาติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ใช้พุทธศักราช ( พ.ศ. ) แทนรัตนโกสินทร์ศก ( ร. ศ. ) ซึ่งมีใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5

5. การเปลี่ยนแปลงธงชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประดิษฐ์ธงชาติขึ้นใหม่ มีสามสีคือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน และพระราชทานนามว่า “ ธงไตรรงค์

6. การเปลี่ยนธงการนับเวลาราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ใช้คำว่า “ นาฬิกาเป็นคำนามบอกเวลาแทน “ โมง และ “ ทุ่ม และให้ถือเอาเวลาเลยเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ เพื่อให้ได้มาตราฐานแบบเดียวกับนานาประเทศคือใช้เวลาของกรีนิชเป็นหลัก

5. การปรับปรุงเศรษฐกิจและการคลัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาการเงินของประเทศจึงโปรดให้มีการปรับปรุงเศรษฐกิจ แก้ไขระเบียบการคลัง ตลอดจนการเก็บภาษีอากร การเงิน และการธนาคาร ดังนี้คือ

1. ในด้านการเศรษฐกิจและการคลัง โปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นใน พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บผลประโยชน์และรายได้ของแผ่นดิน ครั้นต่อมา พ.ศ. 2435 ทรงยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงการคลังมหาสมบัติ เพื่อจัดการเรื่องรายรับรายจ่ายรวมทั้งการรักษาเงินของแผ่นดิน ส่วน “ พระคลังข้างที่ ให้เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เท่านั้น

2. การปรับปรุงการเก็บภาษีอากร รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งข้าหลวงคลังออกไปประจำทุกมณฑล เพื่อเก็บภาษีอากรจกราษฎร โดยกำหนดอัตราเท่ากันทุกมณฑล ทำให้ทางราชการเก็บภาษีอากรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น

3. การปรับปรุงการเงินและการธนาคาร รัชกาลที่ 5 โปรดให้เปลี่ยนแปลงมาตราเงิน โดยสร้างหน่วยเงินขึ้นใหม่เรียกว่า สตางค์ ยกเลิกเงินพดด้วง ให้ใช้เงินเหรียญบาท เหรียญสลึงและเหรียญสตางค์

นอกจากนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นแห่งแรกมีชื่อว่า “ บุคคลัภย์ (Book Clup) ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้รับพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็นธนาคารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า “ แบค์สยามกัมมาจล ( Siam commercial Bank ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

6. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เมื่อการค้าขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลจะต้องจัดสร้างโรงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจสามารถเจริญก้าวหน้าไปด้วยความสม่ำเสมอ ไม่สะดุดหยุดชะงักโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่

การพัฒนาการขนส่ง การสื่อสาร และการคมนาคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ภัณฑ์ พัสดุ ธนาณัติ ติดต่อกับหัวเมืองต่างๆและต่างประเทศ เปิดบริการโทรเลขและวางสายโทรศัพท์ในพระนครเมื่อ พ.ศ.2424 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงเมื่อ พ.ศ. 2456 การพัฒนาการคมนาคมที่สำคัญที่สุดได้แก่ การสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อการลงทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากกิจการรถไฟเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงมาก ทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชศรีมา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 และต่อมาก็ขยายไปทางสายเหนือไปถึงอุตรดิตถ์สายให้ไปถึงเพชรบุรีและสายตะวันออกไปถึงฉะเชิงเทรา

พระภัทรมหาราช






       พระภัทรมหาราชหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบารมีและมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ทรงเป็นผู้พัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรทั่วประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชกรณียกิจหนักเพื่อประชาชนโดยแท้ พระราชกรณียกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่อาณาประชาราษฏร์นับตั้งแต่วันเถลิงราชสมบัติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ 2489

1. พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนา

ได้ทรงเสด็จออกเยี่ยมประชาชนในทุกภาคของประเทศทุกปี อย่างน้อยปีละ 6-8 เดือน โดยทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทมาก มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับถึงปัจจุบัน 2,012 โครงการ ครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมทุกสาขา มีชื่อเรียกต่างกันตามวัตถุประสงค์ เช่นโครงการในพระราชดำหริ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง และโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นต้น

ลักษณะพิเศษของโครงการในพระราชดำหรินี้ใช้หลักการ “ ทำให้ง่าย”หรือ Simplicity จัดการด้วยสติปัญญา เพื่ออยู่ดีกินดี ซึ่งทรงถือว่าเป็นผลสำเร็จที่คุ้มค่า บนพื้นฐานของการทำงาน “รู้รักสามัคคี” ปัจจุบันขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาประสบภาวะ วิกฤษเศรษฐกิจ ก็ทรงเสนอปรัชญาการพัฒนาที่เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” เพื่อแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยให้มีการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อการเกษตรผสมผสานให้แต่ละครอบครัวพึ่งตนเองได้ มีผลให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ว่า

“…เศรษฐกิจแบบค้าขายฝรั่งเขาเรียก Trade Economy ไม่ใช่แบบพอเพียง ซึฝรั่งเรียกว่า Self - Sufficient Economy ถ้าเราทำแบบที่ไหนก็ทำได้คือเศรษฐกิจพอเพียงกับตัวเอง เราก็อยู่ได้ไม่ต้องเดือดร้อน

รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่ มีเงินมาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะไม่ถึงครึ่งอาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็สามารุที่จะอยู่ได้ การแก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้”

บางช่วงตอนในพระราชดำรัชพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540

ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สรุปลักษณะโดยย่อดังนี้

ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวิะการจัดระบบเศรษฐกิจของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นประขากรส่วนใหญ่ของประเทศให้มีฐานะความเป็นอยู่ มีรายไเพียงพอที่จะดำรงชีวิตในสภาการณ์ปัจจุบันที่กระแสวัตถุนิยมรุนแรงได้อย่างเป็นสุขหรือเรียกว่า “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง”

1. ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่

ขั้นตอนที่ 1 เกษตรกรที่มีที่ดินน้อย ประมาณ 15 ไร่ ควรใช้เป็นที่ดินทำนาข้าว 5 ไร่

ปลูกพืชไร่และพืชสวน 5 ไร่ ขุดสระน้ำลึก 4 เมตร 3 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2ไร่ ถ้าจัดที่ดินประกอบอาชีพเช่นนี้ เกษตรกรจะอยู่โดยให้ราชการ มูลนิธิ เอกชนให้เงินทุน ส่วนค่าดำเนินการ เกษตรกรดำเนินการเองได้

ขั้นตอนที่2 ให้เกษตรกรรวมพลังในรูปของกลุ่มสหกรณ์ ร่วมแรงกันในการผลิต การ

ตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน

ขั้นตอนที่3 ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้ง

และบริหารโรงสี ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ ช่วยการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพ โดยทั้งฝ่ายเกษตร และฝ่ายธนาคารกับบริษัทจะได้รับประโยชน์

ทฤษฎีใหม่นี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ที่มีบทบัญญัติกำหนดภารกิจของรัฐบาลให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือและบริการประชาชนให้มีคุณภาพขีวิตที่ดี เท่าเทียมกันทั้งประเทศ ประชาชนหมู่ใดมีฐานะและโอกาสต่ำกว่า รัฐจะต้องเข้าไปเกื้อกูล ดังนั้นภาพรวมของรัฐธรรมนูญ ใหม่ จึงตรงกับพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำเนินการยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี ระยะ นับแต่โครงการพระราชดำริโครงการแรกใน ปี พ.ศ. 2508

2. พระราชกรณียกิจด้านการชลประทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการชลประทาน มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ได้ทรงใช้ความรู้ทางด้านนี้ช่วยเหลือชาวไร่ ชาวนาให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร โครงการที่พระองค์คิด จำง่ายและมองเห็นภาพพจน์ เช่น โครงการแก้มลิง เพื่อกักกับน้ำมิให้ระบายอย่างรวดเร็วแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ไตธรรมชาติ (บึงมะกะสัน) แกล้งดิน ฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นต้น

3. พระราชกรณียกิจ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ปี พ.ศ. 2502-2510 ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 31 ประเทศเพื่อเป็นการเจริญ พระราชไมตรีและนำชื่อเสียงไทยสู่ชาวโลก จนต่างชาติให้ความยกย่องพระมหากบัตริย์ไทยว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอัจฉริยภาพ

4. พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโรงเรียนราชวินิาตมนปี พ.ศ. 2511ทรงอุปถัมภ์โรงเรียนวังไกลกังวล ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาผ่านดาวเทียมไปยังโรงเรียน ในถิ่นทุรกันดารทั้งประเทศเช่นโรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้ส่งเสริมโรงเรียนทุกระดับ โดยพระราชทานทุนทรัพย์แก่นักเรียนยากจนผ่านมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และทรงให้จัดทำโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เพื่อรวม ความรู้แก่เด็กและเยาวชนทุกระดับพระราชทานไปยังห้องสมุดต่างๆ ทั่วประเทศ

5. พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก และทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศ ได้ทรงปฏิบัติองค์ตามพุทธวินัยเคร่งครัด ภาพที่ทรงออกบิณฑบาตเวลาเช้านั้นเป็นสิ่งที่ประทับใจชาวไทยมิรู้ลืม และทรงจัดทำพระพุทธรูปประจำรัชกาบปางมารวิชัยขั้น เรียกว่า พระพุทธนวราชบพิตร

6. พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยการดนตรีกีฬา การวาดภาพ ทรงประพันบทเพลงมากมาย การกีฬา แหลมทอง ประเภทกีฬาเรือใบปละทรงได้เหรียญทองเมื่อ ปี พ.ศ. 2504 ทรงสนพระทัยด้านจิตกรรม มีรูปภาพฝีพระหัตถ์ด้านประเพณี ทรงฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินด้วยกระบวนพยุหนาตรา ทางชลมารค และทรงพระราชนิพนธ์ชาดก เรื่องพระ มหาชนกเป็น 3 ภาษา คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาเทวนาครี ทรงวาดภาพบางภาพประกอบ โดยการใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ ทรงแปลหนังสือภาษาต่างประเทศที่น่าสนใจ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระเรื่องติโต เป็นต้น

7. พระราชกรณียกิจด้านการทหาร

ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครที่ทำหน้าที่ป้องกันประเทศด้วยดี ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพิะพระราชทานเพลิงศพแก่ผู้กล้าหาญที่เสียชีวิตเพื่อประเทศชาติ อย่างสมเกียรติ และไม่ทอดทิ้งทหารผ่านศึก ทหารพิการและครอบครัว โดยทรงให้ความช่วยเหลือผ่านองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้มีการฝึกอบรมอาชีพและมูลนิธิสายใจไทยเพื่อช่วยเหลือครอบครัวทหารผ่านศึก

8. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ทรงจัดให้มีหน่วยแพทย์พระราชทาน โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน โครงการแพทย์พิเศษ ตามพระราชประสงค์หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทานโครงการแพทย์อาสา โครงการแพทย์ หู คอ จมูก โรคภูมิแพ้ โครงการอบรม หมอหมู่บ้าน ชื่อเสียงของหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่มีไปถึงต่างประเทศ จนราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศอังกฤษได้ถวายกิติบัตรสมาชิกกิติมศักดิ์ แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2524

9. พระราชกรณียกิจด้านการสังคมสงเคราะห์

ทรงพระเมตตาช่วยเหลือภายใต้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งทรงจัดขึ้นเมื่อครั้งวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2506 เพื่อช่วยผู้ประสบภัย และนำดอกผลจากกองทุนสร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ด้วย

10. พระราชกรณียกิจในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2526เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ได้ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกันแก้ไขภาวะน้ำท่วมแก่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการจัดทำโครงการไตธรรมชาติที่บึงมักกะสัน และโครงการแก้มลิง ที่จังหวัดสมุทรปราการ

11. พระราชกรณียกิจด้านการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร

ได้ทรงแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดเพราะก่อให้เกิดผลเสียด้านทรัพยากรและมลภาวะเป็นอย่างมาก ด้านการวางแผนแนวพระราชดำริ เช่น โครงการขยายถนน โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าเพื่อเชื่อมโยงการเข้าออกเมือง 4 ทิศทาง จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

12. พระราชกรณียกิจด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ทรงจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียธรรมชาติที่บึงมักกะสัน บึงพระราม 9 แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น โดยทรงประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ

13. พระราชกรณียกิจด้านการแนะนำและเตือนสติบุคคลในชาติ

ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเตือนสติบุคคลในหลายสาขาอาชีพโดยเฉพาะเมื่อมีการเฉลิมฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงแนะแนวทางให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติตาม คุณธรรม 4 ประการ คือ

ประการที่ 1 การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่ 2 การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติในสัจความดีนั้น

ประการที่ 3 การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม

ประการที่ 4 การรู้จักละและวางความชั่ว ความทุจริต รู้จักละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

14.พระราชกรณียกิจด้านการปกครองประเทศชาติ

ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือการเมือง คือทรงเป็นกลางทางการเมือง ในฐานะประมุขของประเทศ ทรงมรพระราชอำนาจในการปฏิบัติต่อคณะรัฐบาลคือพระราชทานคำแนะนำเตือนสติ และราชอำนาจที่จะทรงได้รับการปรึกษา และพระราชอำนาจที่จะทรงสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลซึ่งพิจารณาได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ทรงเป็นลักษณะของชาติ

การปกครองของไทยนั้น มี 3 สถาบัน ได้แก่ สถาบันชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์แห่งเอกราชและอธิปไตยของชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่ทุกคนภมิใจ ดังบทเพลงที่ว่า “ บุญของแผ่นดินไทย พ่อหลวงบันดาลให้ที่ในยุ้งฉางมีข้าว น้ำรินดินดีใครเล่า ทุกข์ใดเหินไปบรรเทาด้วยพระบาท”

2. ทรงเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงฐานะประมุขจอมทัพไทย ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์มิได้ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอำนาจตาม ความเป็นจริงมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะทรงเป็นที่เคารพสักการะบูชาสูงสุดของประชาชนชาวไทย ทรงเป็นผู้นำที่เปี่ยมด้วยบารมีแก้ปัญหาได้เรียบร้อยทุกครั้ง เช่น กรณี วันมหาวิปโยค กรณีพฤษภาทมิฬ

กล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นประมุขของชาติที่เป็นแบบอย่างในการครองตน ครองคน และครองงาน สมควรที่ชนชาวไทยจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณด้วยการประพฤติตนเป็นคนดี ไม่สร้างปัญหาให้แก่สังคม

ผลงานบุคลสำคัญในต่างประเทศ

บุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่มีส่วนสำคัญต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นบุคคลที่สำคัญที่ได้สร้างคุณงามความดี ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน ซึ่งสมควรยกย่องให้เป็นผู้นำที่มีบทบาทในการร่วมบริหารและพัฒนาประเทศชาติให้อยู่สืบเนื่องต่อไป บุคคลสำคัญในต่างประเทศ คือ




เฉกอะหมัด คูมี

เฉกอะหมัด คูมี เป็นพ่อค้ามุสลิมชาวเปอร์เชีย ได้เข้ามาในช่วงปลายสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ( พ.ศ. 2133 – 2140 ) ในกรุงศรีอยุธยา ค้าขายจนมีความเจริญรุ่งเรืองมีฐานะเป็นเศรษฐี และท่านเฉกอะหมัด คูมี เข้ามามีบทบาททางการเมืองในประเทศไทยในเวลาต่อมา บทบาททางการเมืองที่สำคัญคือ เริ่มจากท่านเฉกอะหมัด คูมี ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. 2145 – 2170 ) ให้เป็น พระเฉกอะหมัดคูมี รัตนราชเศรษฐีที่เจ้ากรมท่าขวา และจุฬาราชมนจรี เนื่องจากทรงพิจารณาเห็นว่าท่านเฉกอะหมัดเป็นผู้เจนจัดในด้านการค้ากับต่างประเทศ ได้เคยช่วยราชการกับพระยาพระคลังในด้านการปรับปรุงกรมท่า ทำให้งานราชการในด้านดังกล่าวเจริญก้าวหน้าขึ้นมากจึงให้รับตำแหน่งกรมท่าขวา กระทรวงการคลังต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ปัจจุบัน ส่วนตำแหน่งจุฬาราชมนตรี คือตำแหน่งหัวหน้าของชาวมุสลิม ต่อมาเมื่อพระยาคลังซึ่งว่าที่กรมท่ากลางถึงแก่อสัญกรรมลงก็ได้ทรงโปรดให้ท่านเฉกอะหมัด คูมี รับตำแหน่ง ว่าที่กรมท่ากลางอีกตำแหน่ง และปลายรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมได้เลื่อนเป็น พระยาเฉกอะหมัด รัตนราชเศรษฐี ว่าที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ท่านเฉกอำหมัด คูมี ถือว่าท่านเป็นผู้นำศาสนาอิสลามนิกายซีอะต์ ( ซีอะต์ เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาอิสลาม เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของการบริหารอาณาจักรอิสลามในสมัยท่านศาสดามูฮัมหมัดถึงแก่อสัญกรรม ( สมัยคอลีฟะฮ ) จึงทำให้ความแตกต่างด้านความคิดของศาสนาดั้งเดิมซึ่งรู้จักในนามนิกายสุหนี่ ) เข้าสู่ประเทศไทย และนับว่าท่านเป็นปฐมจุฬาราชมนตรีของอิสลามในประเทศไทย ท่านได้ถึงแก่กรรมในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ( พ.ศ. 2173 – 2179 )

ท่านเฉกอะหมัด คูมี แสดงบทบาทของชาวมุสลิมทางด้านการเมืองต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สืบทอดตำแหน่งสำคัญต่อเนื่องมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เช่น ตระกูลเฉกอะหมัด คูมี จะสืบตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่ท่านเฉกอะหมัด คูมี จุฬาราชมนตรีคนแรกจนถึงจุฬาราชมนตรี ( สอน อะหมัดจุฬา )จุฬาราชมนตรีคนที่ 11 หรือ จุฬาราชมนตรีคนที่ 7 กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตระกูลเฉกอะหมัด คูมี นอกจากเป็นผู้นำทางศาสนาอิสลาม ยังรับราชการหน้าที่อื่นๆตามความสามารถที่สำคัญ จุฬาราชมนตรีสายตระกูลเฉกอะหมัด คูมี มักจะรับหน้าที่เกี่ยวกับการคลังและการต่าง ประเทศด้วย



ออกญาเสนาภิมุข


ประเทศญี่ปุ่นได้มีความสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งทางด้านการค้าและการเจริญสัมพันธไมตรีด้านการทูต ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งมีการติดต่อค้าขายทางการเรือสำเภาระหว่างกัน และได้มีชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาอาศัยอยู่รอบนอกกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ครั้งอดีต

ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีชาวญี่ปุ่นได้สร้างคุณงามความดีและได้รับการยกย่องชื่อว่า ยามาดา หรือ ออกญาเสนาภิมุข มีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ออกญาเสนามุขได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมาจนถึงแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฎ ออกญาเสนามุขได้ยกทัพไปปราบสำเร็จ และ ได้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช

กองทหารอาสาญี่ปุ่น มีบทบาทเป็นสำคัญของกษัตริย์ในการปราบกบฎแต่บางครั้งกองทหารอาสาญี่ปุ่นก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อสู่แย่งชิงอำนาจในราชสำนัก จนต้องถูกขับไล่ไปจากกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ชุมชนญี่ปุ่นก็ยังคงอยู่ต่อมาจนกระทั่งสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยาในปี พ. ศ. 2310

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ เป็นชาวตะวันตกชาวกรีก แต่เดิมชื่อ คอนสะแตนติน ฟอลคอน มีบทบาทในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยใช้รับราชการเป็นที่ทรงโปรดปรานอย่างมาก ถึงกับเข้านอกออกในพระราชฐานชั้นในได้โดยมิต้องทูลขออนุญาตก่อนจนได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้ายาวิไชเยนทร์ เป็นตำแหน่งสูงสุด นับว่าเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ เข้ามารับราชการในเมืองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เจ้ายาวิไชเยนทร์มีบทบาทเป็นตัวกลางระหว่างราชวงค์ของฝรั่งเศสกับฝ่ายไทยอาทิ เช่น การสนับสนุนให้ฝรั่งเศสค้าขายกับไทยอย่างเสรี

ทำให้การค้าของไทยเจริญรุ่งเรืองจนถือได้ว่า เป็นยุคทองทางค้ายุคหนึ่งที่รุ่งเรืองอย่างมากมายอีกทั้งฝ่ายไทยได้เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงอย่างมากในสมัยหนึ่

หมอบรัดเลย์


ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ซึ่งได้มีชาวต่างชาติคือ มิชชั่นนารีอเมริกัน เข้ามาส่งเสริมการศึกษาและการแพทย์ เช่น นายแพทย์ยอร์ช บรัดเลย์ แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้วางรากฐานวิชาการแพทย์สมัยใหม่ในประเทศไทยซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระอาจวิทยาคม” เมื่อปี พ.ศ. 2458 และได้สร้างสรรค์ความเจริญแก่ประเทศไทยด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นผู้จัดตั้งหลักสูตรฝึกอบรมนักเรียนแพทย์แผนใหม่จนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆที่ตามมา และนอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ยังมี บทบาทด้านการพิมพ์ โดยเป็นคนที่นำเครื่องพิมพ์ดีดเข้ามาเป็นครั้งแรกและเป็นผู้ที่บทบาทต่อการออกหนังสือประกาศทางราชการเป็นครั้งแรก




ข้อสอบ